วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Charice - Pyramid [featuring Iyaz] (Viral Video)

Shawty's love is like a pyramid (ooh)
We stand together till the very end (eh ooh)
There'll never be another love for sure (ooh)
Iyaz and Charice let we go

Stones, heavy like the love you've shown (shown)
Solid as the ground we've known (known)
And I just wanna carry on
We took it from the bottom up (no no no)
And even in a desert storm (yeah)
Sturdy as a rock we hold (oh)
Wishing every moment froze
Now I just wanna let you know
Earthquakes can't shake us
Cyclones can't break us
Hurricanes can't take away our love

Pyramid, we built this on a solid rock
It feels just like it's heaven's touch
Together at the top (at the top baby), like a pyramid
And even when the wind is blowing
We'll never fall just keep on going
Forever we will stay, like a pyramid

Like a pyramid like a pyramid eh (ooh)
Like a pyramid like a pyramid eh (ooh)
Like a pyramid like a pyramid eh eh (oooh)

Cold (cold), never ever when you're close (close)
We will never let it fold (fold)
A story that was never told
Something like a mystery (yoh!)
And every step we took we've grown
Look how fast the time has flown
A journey to a place unknown
We're going down in history
Earthquakes can't shake us (oh)
Cyclones can't break us (oh)
Hurricanes can't take away our love

Pyramid, we built this on a solid rock (hey!)
It feels just like it's heaven's touch
Together at the top, (at the top baby) like a pyramid
And even when the wind is blowing (wind is blowing)
We'll never fall just keep it going (keep it going)
Forever we will stay, like a pyramid (eh oh)

Like a pyramid girl let me show you
That I love you so much
That we gonna get through (oh oh)
Even when there's storms
I will never go, Ima be the one to keep you safe (hey)
Before was our love back it up more than enough
Holding on to one another be the cover when it's rough (oh oh)
Mother nature (hey) or disaster won't stop at happy ever after

Pyramid, keep it going (like a pyramid, like a pyramid)
Oh oh ooooh (like a pyramid, like a pyramid)

Pyramid, we built this on a solid rock (solid rock)
It feels just like it's heaven's touch (oooh)
Together at the top (at the top baby, at the top girl), like a pyramid
And even when the wind is blowing
We'll never fall just keep on going (keep it going)
Forever we will stay (Charice), like a pyramid (what what)

Pyramid, we built this on a solid rock
It feels just like it's heaven's touch
Together at the top (at the top baby, at the top girl), like a pyramid (pyramid)
And even when the wind is blowing
We'll never fall just keep it going
Forever we will stay (ooh), like a pyramid

Like a pyramid like a pyramid eh
Like a pyramid like a pyramid eh
Like a pyramid like a pyramid eh eh

Charice - Listen (Glee Season 2) [HD]

[MV] รักไม่มีเจ้าของ - Neko Jump

[MV] ความเจ็บไม่มีเสียง (Silence) : ขนมจีน Cycle

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Princess and the Pauper - Free

Free
ANNELIESE:

All my life I've always wanted

To have one day just for me

Nothing to do and for once nowhere I need to be

With no lessons, lords, or lunches

Or to-do list in the way

No one to say when to eat or read or leave or stay

That would be the day

ERIKA:

All my life I've always wanted

To have one day for myself

Not waking up with a pile of work on every shelf

With no hems in need of pressing

And no sleeves in disarray

No wedding gown with a thousand stitches to crochet

And no debt to pay

*Spoken Part*

ERIKA:

What would it be like to be

PRINCESS ANNELIESE:

What would it be like to be

ERIKA:

Free

PRINCESS ANNELIESE:

Free

Free to try crazy things

ERIKA:

Free from endless IOU's

ANNELIESE:

Free to fly

ERIKA:

Free to sing

ANNELIESE:

And marry whom I choose

*Spoken Part*

ANNELIESE:

You would think that I'm so lucky

That I have so many things

I'm realizing that every present comes with strings

ERIKA:

Though I know I have so little

My determination's strong

People will gather around the world to hear my song

WOMAN:

Can I come along?

ANNELIESE:

Now I fear I'll never be

ERIKA:

Soon I will forever be

BOTH:

Free

I close my eyes and feel myself fly a thousand miles away

I could take flight but would it be right

My conscience tells me stay

ANNELIESE:

I'll remain forever royal

ERIKA:

I'll repay my parent's debt

BOTH:

Duty means doing the things your heart may well regret

ANNELIESE:

But I'll never stop believing

ERIKA:

She can never stop my schemes

BOTH:

There's more to living than gloves and gowns and threads and seams

In my dreams

I'll be free

วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความผิดพลาดของ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"

"ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่ต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง แม้แต่ประเด็นทางธรรมะต่างๆ ที่ผู้เขียนกล่าวอ้าง ก็น่าจะมีผู้รู้ทางปรัชญาและพุทธศาสนามาตรวจสอบด้วยเช่นกัน"

กลายเป็นประเด็นร้อนถกเถียงกันตามหน้าเวบบล็อก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และคนอ่านทั่วไปขึ้นมาทีเดียว กรณีนักเขียนและนักวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ตัวจริงเสียงจริงอย่าง ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ จาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาทักท้วงถึงความถูกต้องของข้อมูลจากหนังสือขายดิบขายดีเรื่อง ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็นและฟิสิกส์นิวตัน งานเขียนของทันตแพทย์สม สุจีรา นักเขียนที่กำลังฮิตฮอตอยู่ในเวลานี้

ต้องยอมรับว่าหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" นั้นได้รับการพิมพ์ซ้ำถึง 40 ครั้ง ยอดพิมพ์ไม่ต่ำกว่า 100,000 เล่ม ล่าสุดทางสำนักพิมพ์ได้มีการระงับการพิมพ์เพิ่มหนังสือทั้ง 2 เล่มแล้วจนกว่าจะได้รับการแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว

ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายจาก ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ ว่าทำไมถึงต้องออกมาท้วงติงและเรียกร้องให้มีการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องเกี่ยวกับหลักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงหลักธรรมทางศาสนา ว่ามีการบิดเบือนและคลาดเคลื่อนด้วยหรือไม่

>กรณีที่มีการระงับการพิมพ์เพิ่มหนังสือ 2 เล่ม ได้แก่ ฟิสิกส์นิวตัน และ ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น จนกว่าจะมีการแก้ไขนี้ ประเด็นสำคัญคืออะไร?

ก่อนอื่นผมต้องขอชื่นชมสปิริตของผู้เขียนและชื่นชมความเป็นองค์กรคุณภาพของสำนักพิมพ์ ที่เมื่อทราบว่าหนังสือทั้งสองเล่มมีข้อผิดพลาดมาก ก็ได้ระงับการพิมพ์เพิ่มไว้ก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไข ผมมองว่าแก่นของปัญหานี้คือ การขาดการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ ก่อนที่จะทำการพิมพ์หนังสือออกมา หนังสือทั้งสองเล่มนี้ มีการอ้างอิงถึงหลักการ ทฤษฎีและข้อสรุปทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะฟิสิกส์อย่างมาก

ในกรณีที่มีการอ้างถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้ น่าจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมด้วย มิฉะนั้นก็จะมีความเสี่ยงที่หนังสือจะให้ข้อมูลที่ผิดพลาดได้

ที่ว่ามีความเสี่ยงก็คือ หากผู้เขียนมีความรู้ที่ถูกต้องและนำเสนอได้อย่างแม่นยำ หนังสือก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากผู้เขียนมีความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและกองบรรณาธิการไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลและความรู้นั้นได้ ก็จะทำให้หนังสือมีที่ผิด หากคลาดเคลื่อนมากก็จะมีที่ผิดมากตามไปด้วย

>บางคนอาจมองว่าหนังสือสองเล่มนี้ เขียนเพื่อให้ความบันเทิงมากกว่าให้ความรู้ คือแม้จะผิดพลาดมากก็คงไม่เป็นไร?

ลองมาดูทีละเล่ม ฟิสิกส์นิวตัน ระบุที่หน้าปกว่า "เสริมหลักสูตรวิทยาศาสตร์มัธยมศึกษาตอนปลาย" และ "เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป" ดังนั้น เล่มนี้จึงต้องการให้ความรู้ทางฟิสิกส์ที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยมีจุดพิเศษคือเป็น "ปรากฏการณ์ใหม่ของการเรียนฟิสิกส์จากจินตนาการและความเข้าใจ"

ส่วนเล่ม ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น นั้นต้องการแสดงให้เห็นว่า "ธรรมะพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์" และ "บางสิ่งที่ไอน์สไตน์ค้นพบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาก่อนแล้วนับพันปี" จุดสำคัญก็คือหนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนในลักษณะของนิยายหรือเรื่องสั้น แต่มีลักษณะให้ข้อมูลทั้งวิทยาศาสตร์และศาสนาพร้อมการวิเคราะห์ ตลอดจนการแทรกข้อคิดเห็นของผู้เขียนลงไปจำนวนมาก นอกจากนี้ผู้จัดพิมพ์ยังเป็นสำนักพิมพ์ที่มีผลงานน่าเชื่อถือสูงมาก อันเกิดจากการให้ความสำคัญกับคุณภาพของหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ เสมอมา

อย่างไรก็ดี สำนักพิมพ์จัดหนังสือเล่มนี้อยู่ใน ชุดธรรมะวิทยาศาสตร์ ซึ่งหมายความว่าแม้จะมีผู้อ่านส่วนหนึ่งอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ก็ย่อมจะมีผู้อ่านอีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการทราบข้อเท็จจริงทั้งทางวิทยาศาสตร์และธรรมะและต้องการจะเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และธรรมะ มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างไร

พูดถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นมาได้ว่า ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์เท่านั้น ที่ต้องได้รับการตรวจสอบความถูกต้อง แม้แต่ประเด็นทางธรรมะต่างๆ ที่ผู้เขียนกล่าวอ้าง ก็น่าจะมีผู้รู้ทางปรัชญาและพุทธศาสนามาตรวจสอบด้วยเช่นกัน หากสำนักพิมพ์ต้องการให้หนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นทุกเล่มในชุดธรรมะวิทยาศาสตร์นี้มีคุณภาพสูงและเชื่อถือได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งผู้เขียน ผู้อ่าน และสำนักพิมพ์นั้นๆ เอง

มองในระยะยาวออกไป ย่อมเป็นไปได้ว่าอาจจะมีการอ้างถึงหนังสือเล่มหนึ่งๆ ออกไป เพื่ออ้างอิงหรือเพื่อต่อยอดทางความคิด หากหนังสือที่ถูกอ้างถึงผิดพลาดมากเสียแล้ว ผลลัพธ์ในภายภาคหน้าจะเป็นอย่างไรก็สุดจะหยั่งถึงครับ

>กรณีของหนังสือ "ฟิสิกส์นิวตัน" มีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร?

หนังสือเล่มนี้ นำเสนอประเด็นพื้นฐานทางฟิสิกส์หลายอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การให้ความหมายของแรงปฏิกิริยา (reaction) ผิดพลาด ในหน้า 70 และ ความสับสนระหว่างการหมุน (rotation) กับการเคลื่อนที่เป็นวงกลม (circular motion) ในบทที่ 5 และประเด็นอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งดังที่มีผู้ชี้ให้เห็นในเว็บ Pantip.com ห้องหว้ากอแล้ว

นอกจากนี้ยังมี การใช้คำที่แสดงถึงความไม่เข้าใจในความหมายที่แท้จริงในทางวิชาการ อีกจำนวนหนึ่ง ผมยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น "Young's modulus เป็นการวัดขนาดความแข็งของวัตถุ" ซึ่งที่ถูกต้องได้แก่ "ค่ามอดุลัสของยัง (Young's modulus) เป็นสมบัติทางกลแบบหนึ่งของวัสดุที่คำนวณได้จากความชันของเส้นกราฟ ระหว่างความเค้นกับความเครียดในช่วงยืดหยุ่น"

ส่วนความแข็งของวัสดุเรียกว่า hardness เป็นสมบัติทางกลที่มีวิธีการวัดค่าได้หลายแบบ แต่หลักๆ ก็คือเป็นสมบัติของพื้นผิวที่ต้านทานต่อแรงกดหรือแรงที่มาขูดขีดผิวในพื้นที่แคบๆ จะเห็นว่าเพียงแค่ประโยคสั้นๆ ซึ่งดูเผินๆ เหมือนไม่มีอะไรน่าสงสัยนี้ หากผู้รู้มาพบเข้าและแก้ไขให้ ก็จะถูกขยายความออกมามากทีเดียว

>การแก้ไขหนังสือ "ฟิสิกส์นิวตัน" สามารถทำได้อย่างไร?

สามารถทำได้และสมควรทำอย่างยิ่ง เพราะนี่คือหนังสือที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมปลายสนใจและเข้าใจวิชาฟิสิกส์อย่างถูกต้อง การแก้ไขคงต้องทำในหลายส่วน ในส่วนผู้เขียนจำเป็นต้องทบทวนความรู้หรือเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าหนังสือหรือบุคคล โดยทั้งนี้ต้องระมัดระวังการตีความและการคาดเดา ที่เกินเลยจากบริบทการใช้งานของทฤษฎีและความรู้ชุดหนึ่งๆ

ในส่วนของบรรณาธิการ จำเป็นต้องมีนักฟิสิกส์ที่มีความรู้อย่างน้อยระดับปริญญาโทเข้ามาตรวจสอบ เพราะในฉบับการพิมพ์ครั้งแรกๆ นั้นมีการอ้างถึงความรู้ทางวิทยาศาสตร์กายภาพอื่นๆ เช่น เอนโทรปี (entropy) ทฤษฎีเคออส (chaos theory) และจักรวาลวิทยา (cosmology) นักฟิสิกส์ที่จะทำหน้าที่นี้ หากมีใจรักทางด้านการศึกษาด้วยก็จะดียิ่ง เพราะนี่คือหนังสือสำหรับเด็กนักเรียนที่ต้องถูกต้อง อ่านสนุกเพลิดเพลิน ตรงตามความประสงค์ของผู้จัดทำ

ในส่วนของหนังสือที่ขายไปแล้ว คงต้องแล้วแต่ว่า สำนักพิมพ์จะดำเนินการบรรเทาความเข้าใจผิดทางวิชาการที่แพร่กระจายออกไปแล้วอย่างไร เช่น มีผู้เสนอไว้ในเว็บว่า อาจมีการจัดทำไฟล์ที่แก้ไขอย่างดีแล้วขึ้นเว็บ แล้วจัดแถลงข่าวให้ผู้ที่ซื้อหนังสือไปมาดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าว เป็นต้น

>แล้วหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" มีความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนตรงไหนบ้าง?

เรียนตามตรงว่ากรณีของหนังสือเล่มนี้นั้น ซับซ้อนกว่ากรณีหนังสือ "ฟิสิกส์นิวตัน" มากทีเดียว เพราะหนังสือ "ฟิสิกส์นิวตัน" เป็นหนังสือแค่ระดับมัธยมปลาย ถ้าตอนผมเรียนก็แค่ชั้น ม.4 แต่ยังมีที่ผิดในระดับแนวคิดพื้นฐานอย่างเรื่องแรงปฏิกิริยาเลย

แต่หนังสือไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น อ้างถึงวิทยาศาสตร์ที่สูงกว่า คืออย่างต่ำๆ ก็ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ โดยมีเรื่องเฉพาะทางบางเรื่องที่ต้องไปเจาะลึกต่อ แล้วแต่ความสนใจของผู้ที่เรียนฟิสิกส์แต่ละคน เช่น จักรวาลวิทยา (cosmology) ในหน้า 31 ทฤษฎีสตริง (string theory) ในหน้า 39 ทฤษฎีเคออส (chaos theory) ในหน้า 128 และทฤษฎีสัมพัทธภาพ (relativity) ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเล่มเมื่อกล่าวถึงแสงและเวลา เป็นต้น

เนื่องจากความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนมีมาก ผมจะขอแบ่งเป็น 2 ลักษณะหลักๆ ได้แก่ หนึ่ง-ความผิดพลาดในแง่ของข้อเท็จจริงที่ตรงไปตรงมา และ สอง-ความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในประเด็นที่ซับซ้อน

แบบแรกแก้ไขได้ไม่ลำบากนัก แต่แบบหลังอาจจะต้องเขียนบทความขนาดยาวเพื่ออธิบายกันเลยทีเดียว นอกจากความผิดพลาดที่เห็นได้อย่างชัดเจน 2 อย่างนี้แล้วยังมีอีกแง่มุมที่น่าสนใจ คือ การนำเสนอแทบจะไม่ได้แยกแยะระหว่าง ข้อเท็จจริง (fact) การตีความ (interpretation) และการคาดเดา (speculation) เลย ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านที่ไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีเพียงพอ สามารถจัดระดับความน่าเชื่อถือของข้อความได้

>ช่วยยกตัวอย่างความผิดพลาดด้วยครับ?

เรื่องนี้ผมเขียนไว้ในเว็บบางส่วนแล้ว พอเป็นตัวอย่างนิดหน่อย แต่จะขอเพิ่มเติมบ้าง กรณีตัวอย่างความผิดพลาดลักษณะแรก (แก้ไขง่าย) เช่น "...วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา (หมายถึง เดอบรอย) ที่ยืนยันว่าอิเล็กตรอนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า..." (ที่ถูกต้องคือ "....ที่ถือเสมือนว่า อิเล็กตรอนสามารถประพฤติตัวเป็นคลื่นได้" (หน้า 16) และ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทั้งหมด ต้องถือเป็นอนุภาค และอนุภาคทุกชนิดต้องถือว่าเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า" (ที่ถูกต้องคือ "คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอาจประพฤติตัวเป็นคลื่นหรืออนุภาคได้ แล้วแต่สภาวะเงื่อนไขที่เราทำการสังเกต" (หน้า 17)

หรือมีตัวอย่างประโยคที่ซ้อนความคิดหลายชั้น มีถูกมีผิดปนกัน ทำให้ต้องค่อยๆ แยกแยะอย่างระมัดระวัง เช่น "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส) ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" (หน้า 65)

ข้อความ "แสงจะเดินทางช้าลงได้ที่อุณหภูมิใกล้ศูนย์องศาสัมบูรณ์ (-273 องศาเซลเซียส)" - ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง

ข้อความ "...ซึ่งยังไม่มีห้องทดลองที่ไหนทำได้ และถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นานเมื่อเข้าไปอยู่ในที่อุณหภูมิต่ำขนาดนั้น" - ข้อความนี้ถูกต้องเฉพาะท่อนแรก คือยังไม่มีใครสร้างอุณหภูมิศูนย์เคลวินได้ เพราะกฎข้อที่สามของเทอร์โมไดนามิกส์ห้ามเอาไว้

แต่มีการทดลองบางอย่างที่สามารถลดอุณหภูมิลงจนต่ำมากๆ ได้ และที่สำคัญคือ การลดอุณหภูมินั้น ไม่จำเป็นต้องทำกับห้องที่คนอาศัยอยู่ แต่สามารถทำภายในแชมเบอร์ที่ควบคุมอุณหภูมิ ข้อสรุปที่ว่า "ถึงทำได้มนุษย์ก็จะเสียชีวิตในเวลาไม่นาน..." จึงแสดงถึงความไม่เข้าใจเงื่อนไขในการทดลอง

คุณจะเห็นว่าแค่เพียงประโยค 2 บรรทัดในตัวอย่างหลังสุดนี้ ยังมีแง่มุมละเอียดอ่อนที่ซ่อนอยู่ ซึ่งหากจะแก้ไขต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว และประโยคในลักษณะนี้เองที่ปรากฏอยู่ทั่วไปในหนังสือเล่มนี้ ทำให้หนังสือเล่มนี้ซึ่งอ่านง่าย แต่จะแก้ไขให้ถูกต้องนั้นจำเป็นต้องใช้เวลา ความรู้และความอดทนอย่างมาก

ส่วนตัวอย่างของกรณีที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและความพยายามในการปรับแก้นั้น มักจะปรากฏขึ้นเมื่อกล่าวถึงแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น เมื่อกล่าวถึงทฤษฎีเคออส (Chaos Theory) ในข้อความที่ว่า "ทฤษฎีแห่งความยุ่งเหยิง (Chaos Theory) ถือว่าเป็นทฤษฎีแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งสามารถเข้ามาแทนที่ทฤษฎีสัมพัทธภาพ ความมหัศจรรย์ของทฤษฎีนี้ก็คือ สามารถนำไปใช้อธิบายระบบได้ทุกระบบ" (หน้า 77)

(ข้อความนี้ไม่ถูกต้อง เพราะทฤษฎีเคออส ศึกษาระบบที่ไม่เป็นเชิงเส้นซึ่งมีพฤติกรรมไวต่อเงื่อนไขตั้งต้น ส่วนทฤษฎีสัมพัทธภาพมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งศึกษาการสังเกตปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย และทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งศึกษาปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ในกรอบอ้างอิงที่มีความเร่งหรือมีความโน้มถ่วง) การที่จะอ้างถึงเรื่องเหล่านี้อย่างถูกต้อง จำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของทฤษฎีที่กล่าวถึงอย่างถ่องแท้

>แล้วทางแก้ไขสำหรับหนังสือ "ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น" ควรเป็นอย่างไร?

คงต้องมองจากหลายๆ ฝ่ายทั้งทางฟากอาจารย์และนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ผมกำลังประสานงานกับ ดร.อรรถกฤติ ฉัตรภูติ แห่ง ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจัดสัมมนาในประเด็นที่ว่า เหตุใดฟิสิกส์ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่มีความแม่นยำ จึงถูกเข้าใจอย่างคลาดเคลื่อนได้มากถึงเพียงนี้และทางนักวิชาการจะมีแนวทางในการแก้ไขอย่างไร เป็นต้น

ล่าสุดอาจารย์แจ้งว่า เสียงตอบรับค่อนข้างดีและหัวหน้าภาควิชาฯ รับทราบเรื่องโดยเบื้องต้นแล้ว ส่วนทางผู้เขียนและสำนักพิมพ์นั้น ก็คงจะต้องหานักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถและมีเวลาเพียงพอที่จะลงในระดับรายละเอียด

คำว่านักวิชาการนี้ผมคิดว่าถ้ามีได้ทั้งทางวิทยาศาสตร์กายภาพ โดยเฉพาะผู้ที่รู้ฟิสิกส์ยุคใหม่อย่างดี รวมทั้งผู้รู้ทางศาสนา อาจจะเป็นพระหรืออาจารย์ทางปรัชญามาทำงานร่วมกัน ก็น่าจะเกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก

>ข้อดีของหนังสือสองเล่มนี้มีบ้างไหม?

มีแน่นอนครับ กรณีที่หนังสือ ฟิสิกส์นิวตัน ได้รับการแก้ไขฟิสิกส์อย่างถูกต้องทั้งหมด (อาจจะรวมถึงธรรมะด้วย) ก็สามารถใช้ในการเรียนรู้ได้ เพราะผู้เขียนมีสไตล์การนำเสนอที่น่าสนใจ ส่วนเล่ม ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น นั้น หากเป็นเล่มที่ยังไม่ได้แก้ ซึ่งแพร่หลายไปพอสมควรแล้ว ก็คงต้องอ่านด้วยการวางใจกลางๆ คือ ไม่ด่วนเชื่อ หรือไม่เชื่อในทันที อย่างที่ชาวพุทธยึดถือ หลักกาลามสูตร ของพระพุทธองค์นั่นแหละ

จากนั้นถ้าสนใจจริงๆ ก็นำประเด็นที่ผู้เขียนกล่าวอ้างเอาไว้ไปสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ สอบถามจากผู้รู้และคิดพิจารณาด้วยตนเองโดยแยบคาย แต่ในยุคสมัยของความเร่งรีบเช่นนี้ อาจจะไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำเช่นนั้นได้ นี่แหละที่ทำให้นักวิชาการหรือคนที่ต้องการความถูกต้องเรียกร้องให้มีการแก้ไข เพราะถ้าทำถูกตั้งแต่ต้นแล้ว ก็จะเหนื่อยและเสียเวลาน้อยลง จะได้นำเวลาไปสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ต่อไปได้

>มองว่าบทเรียนสำหรับกรณีนี้คืออะไร?

สรุปแบบกรณีทั่วไปเลย ไม่เฉพาะแต่กรณีนี้เท่านั้น สำหรับนักวิชาการนั้นเราจำเป็นต้องทำหน้าที่โดยให้ความรู้แก่สังคมหรือลุกขึ้นมาตั้งข้อสังเกตหรือทักท้วงสิ่งที่ไม่ถูกต้องและเสนอแนวทางแก้ไข

ผู้อ่านที่สนใจก็ต้องเรียนรู้ ที่จะแยกแยะความจริงออกจากการคาดเดาและสำหรับนักเขียน ก็คงต้องศึกษาพื้นฐานของเรื่องที่ตนเองจะเขียนถึงให้ดี โดยหากเป็นเรื่องที่ศึกษาด้วยตนเอง ก็น่าจะมีที่ปรึกษาที่เชื่อถือได้

ส่วนสำนักพิมพ์ก็คงต้องมีกระบวนการตรวจสอบและสร้างระบบบรรณาธิการที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะเมื่อคุณกำลังจัดพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับความรู้เฉพาะด้าน ยิ่งจำเป็นต้องสร้างกลไกตรวจสอบความถูกต้องของต้นฉบับ

แน่นอนว่าตัวบรรณาธิการอาจไม่สามารถรู้ได้ทุกเรื่อง แต่ควรสงสัยในเรื่องที่ตัวเองไม่รู้ และนำข้อสงสัยนั้นไปตรวจสอบ ซักถาม ขอความรู้จากแหล่งต่างๆ ซึ่งผมเชื่อว่ามีช่องทางในการตรวจสอบมากมาย

เพราะหนังสือนี่พิมพ์ออกมาแล้ว ยังอยู่อีกนาน อาจจะเกินกว่าชั่วชีวิตคนด้วยก็เป็นได้

รายงานโดย ปีกนกสีขาว

ที่มา: คอลัมน์ "Read & Write" กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551